วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com










Blog เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนบันทึกเหตุการณ์ส่วนตัว ชื่อเต็มๆ มาจาก Weblog โดยคนที่เขียน blog เขาจะเรียกว่า blogger หรือ Weblogger ที่จริงแล้วจะเรียกชื่ออะไรคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเรามากนักเอาเป็นว่าให้พอรู้จักชื่อละกัน หากท้าวความย้อนกลับไปในอดีต คนที่จะทำเว็บไซต์ส่วนตัวจะต้องศึกษาเครื่องมือเขียนเว็บอย่าง HTML หรือหากจะให้ง่ายหน่อยก็ใช้ทูลสำเร็จรูปอย่าง Dreamweaver, Frontpage ในการสร้างเว็บขึ้นมา หลังจากสร้างเสร็จจะต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรีเพื่ออัปโหลดข้อมูลในเครื่องเราขึ้นไปเก็บอีกทีหนึ่ง จึงจะมีเว็บของตัวเองได้



สำหรับ blog ไม่เป็นเช่นนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียนโค้ด หรือนั่งสร้างเว็บเอง อีกทั้งไม่จำเป็นต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรี ก็สามารถมีเว็บไว้บันทึกเหตุการณ์ส่วนตัวได้แล้ว อีกทั้งสามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลัง (template) ได้ด้วย ปัจจุบัน blog กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัททั้งเล็ก ใหญ่ต่างก็ทำเว็บบล็อกบริการในบริษัท เพื่อให้พนักงานเขียนบล็อกส่วนตัวได้ * โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ 1.หัวข้อ (Title) 2. เนื้อหา (Post หรือ Content) 3.วันที่เขียน (Date)



ประโยชน์หลักของ blog

• เป็นศูนย์ความรู้ของบริษัท เพราะให้พนักงานแต่ละคนเขียนบล็อกส่วนตัวไว้ หากพนักงานท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่บริษัทให้รุ่นน้องศึกษา
• ใช้รายงานเหตุการณ์ หรือผลการทำงานว่าแต่ละวันได้ทำอะไรบ้าง
• ใช้ติดตามความคืบหน้าของงาน กรณีมีการทำงานร่วมกัน• ใช้สำหรับโชวร์ ผลงานส่วนตัว หรือไซต์ส่วนตัว
• ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว / เว็บดาราดัง (เราอาจจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ ใครสักคนก็สามารถทำได้สบาย )
• ใช้ทำเว็บรวมสถานที่ท่องเทียวในตัวจังหวัด หรือในอำเภอเล็กๆ ตามต่างจังหวัด





การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com
1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ www.blogger.com

2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW










3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue














4. ระบุรายละเอียดของบล็อกBlog title : ระบุชื่อบล็อกBlog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut.blogpot.comWorld Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมาเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continu















5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue




















6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่
















7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน












8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post

















9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล











10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้วสังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/


















11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่http://www.blogger.com/startพิมพ์ชื่อ username / Password เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN IN เพื่อเข้าระบบ














12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูปทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ


สรุป
ในการสร้างบล็อกนั้นสามารถทำได้สองแบบคือ
1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้งานเองสำหรับบริการพนักงานใน office เลย ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานบล็อกฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)*
ในบทความนี้นำเสนอการสร้างบล็อกวิธีที่สองคือการใช้บล็อกฟรี โดยทดสอบจากเว็บ blogger.com จะเห็นได้ว่าการมีเว็บบล็อกเป็นของตัวเองไม่ช่ายเรื่องยากอีกต่อไป อีกทั้งผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเขียนเว็บเป็นก็สามารถมีบล็อกส่วนตัวได้แล้ว โดยในการสร้างและเขียนบล็อกขึ้นมา ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกแต่ละท่าน ผู้เขียนขอให้ใช้ประโยชน์จากบล็อกในเชิงสร้างสรรค์ และ้ขอให้ทุกท่าน สนุกกับการเขียนบล็อกส่วนตัวครับ :)
en > บล็อกสายพันธุ์ต่างชาติ
th > บล็อกสายพันธุ์ไทย

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553




ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์
จาก Knowledge Center


ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์
เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ถึงแก่อสัญกรรม 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (82 ปี)
ชานกรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส
สังกัดพรรค
พรรคสหชีพ
สมรสกับ
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์



ศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม ผู้นำสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้อภิวัฒน์การปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย เป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น มีชื่อรหัสว่า "รู้ธ" เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโสด้วย
ในปี พ.ศ. 2543 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศชื่อศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ไว้ใน ปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ. 2000-2001




ประวัติ
ปรีดี พนมยงค์เกิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายเสียง มารดาชื่อนางลูกจันทน์ สืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ "ประยงค์" ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดห่างจากกำแพงพระราชวังด้านตะวันตกชื่อ วัดพระนมยงค์ หรือ "พนมยงค์" เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ครอบครัวนี้จึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์"
สมรสกับ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร์ เมื่อปี พ.ศ. 2472 มีบุตร-ธิดาทั้งหมด 6 คน คือ นางสาวลลิตา พนมยงค์, นายปาล พนมยงค์, นางสาวสุดา พนมยงค์, นายศุขปรีดา พนมยงค์, นางดุษฎี บุญทัศนกุล และนางวาณี สายประดิษฐ์
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่ โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า ได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมต้น ณโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และมัธยมปลาย ณ โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า หรือปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้นออกมาช่วยบิดาทำนาหนึ่งปี และจึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2460
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2462 สอบไล่วิชากฎหมาย ชั้นเนติบัณฑิตได้ เมื่ออายุ 19 ปี และเมื่ออายุ 20 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมพอใจในผลสอบ จึงให้ทุนไปเรียนต่อด้านกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยก็อง (Univesite de Caen) และศึกษาพิเศษจากศาสตราจารย์เลอบอนนัวส์ (Lebonnois) จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเย" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้เป็น "ลิซองซิเย" กฎหมาย (Licencie en Droit)
เมื่อ พ.ศ. 2469 สำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) ระดับปริญญาเอก และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Diplome d’Etudes Superieures d’Economic Politique) จากมหาวิทยาลัยปารีส ได้ปริญญารัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"(Docteur en Droit) ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยเสนอวิทยานิพนธ์ เรื่อง "Du Sort des Societes de Personnes en cas de Deces d’un Associe" (ศึกษากฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายเปรียบเทียบ) นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ศึกษาต่อจนจบดุษฎีบัณฑิตด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยปารีส



ผลงาน

นิติบัญญัติและการวางรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ปรีดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดวางรูปแบบการปกครอง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ปรีดีเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ โดยเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พร้อมกันนั้นยังมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยาม ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่
ในขณะเดียวกัน ปรีดีก็ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นเลขาธิการ (คนแรก) ของสภาผู้แทนราษฎรสยาม ด้วยตำแหน่งดังกล่าวทำให้ท่านมีบทบาทด้านนิติบัญญัติในการวางหลักสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคให้แก่ราษฎร โดยเป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฉบับแรก และเป็นผู้ริเริ่มให้สตรีมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งและสมัครรับเลือก ตั้งผู้แทนราษฎรได้เช่นเดียวกับเพศชาย (Universal Suffrage) นับว่าก้าวหน้ากว่าประเทศฝรั่งเศสซึ่งเพิ่งเปิดโอกาสให้สตรีมีสิทธิ์เช่นนี้ได้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
จากการที่ได้ไปศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ปรีดีสนับสนุนแนวคิดเรื่องศาลปกครอง และก็เป็นผู้นำเอาวิชา "กฎหมายปกครอง" (Droit Administratif) มาสอนเป็นคนแรก ณ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม แนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการให้ราษฎรสามารถตรวจสอบฝ่ายปกครอง ได้ และมีสิทธิในทางการเมืองเท่าเทียมกับข้าราชการอย่างแท้จริง
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านจึงผลักดันให้รัฐบาลยกฐานะกรมร่างกฎหมายและสถาปนาขึ้นเป็น "คณะกรรมการกฤษฎีกา" ทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายของแผ่นดิน ทั้งยังพยายามผลักดันให้ "คณะกรรมการกฤษฎีกา" ทำหน้าที่ "ศาลปกครอง" อีกด้วย แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากวัฒนธรรมในทางอำนาจนิยมของรัฐไทยยังมีอยู่หนาแน่น ความพยายามในการตั้งศาลปกครองของปรีดีจึงประสบอุปสรรคมาโดยตลอด
ในปี พ.ศ. 2476 ได้เสนอ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ" หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" ต่อรัฐบาลเพื่อใช้เป็นนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ตามเจตนารมณ์หลัก 6 ประการของคณะราษฎร โดยดำเนินเศรษฐกิจแบบสหกรณ์ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน ซึ่งท่านได้ชี้แจงไว้ว่า
"การคิดที่จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรนี้ ข้าพเจ้าได้เพ่งเล็งถึงสภาพอันแท้จริง ตลอดจนนิสสัยใจคอของราษฎรส่วนมากว่า การที่จะส่งเสริมให้ราษฎรได้มีความสุขสมบูรณ์นั้น ก็มีอยู่ทางเดียว ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง โดยแบ่งการเศรษฐกิจนั้นออกเป็นสหกรณ์ต่าง ๆ ความคิดที่ข้าพเจ้าได้มีอยู่เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นด้วยข้าพเจ้าได้มีอุปาทานผูกมั่นอยู่ในลัทธิใด ๆ ข้าพเจ้าได้หยิบเอาส่วนที่ดีของลัทธิต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมแก่ประเทศสยามแล้ว จึงได้ปรับปรุงยกขึ้นเป็นเค้าโครงการ"
ปรีดียังได้วางหลักการประกันสังคม คือให้การประกันแก่ราษฎรตั้งแต่เกิดจนตายว่า เมื่อราษฎรผู้ใดไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้เจ็บป่วย พิการ หรือชรา ไม่สามารถทำงานได้ ก็จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจากรัฐบาล ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 แห่งเค้าโครงการเศรษฐกิจ ในชื่อร่าง พ.ร.บ."ว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร" แต่น่าเสียดายที่ความคิดดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ กว่าประเทศไทยจะยอมรับให้มีนโยบายประกันสังคม ก็เป็นเวลาอีก 60 ปีต่อมา
เค้าโครงการเศรษฐกิจนี้ถูกคัดค้านอย่างหนักจากพลังเก่าของสังคมสยามในยุคนั้น เพราะไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจซึ่งเจ้าขุนมูลนาย ยังเป็นผู้คุมอำนาจอยู่




การกระจายอำนาจการปกครอง
ปรีดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เพื่อให้รูปแบบและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นแห่งแรก (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2478) ก็ได้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง "เทศบาล" ทั่วราชอาณาจักรสยาม ตาม พ.ร.บ.เทศบาล ซึ่งท่านเป็นผู้ร่างให้รัฐบาลเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมุ่งหวังให้การปกครองทัองถิ่นเป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตยและได้ กวดขันให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ปรีดีได้แสดงความมุ่งมั่นในการขยายเทศบาลนี้ว่า
"เราต้องการขยายเทศบาลนั้นไปทั่วพระราชอาณาจักร ไม่ใช่จะหยิบยกแต่จังหวัดสำคัญ ๆ เหมือนดังพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลหัวเมืองแต่ก่อนไม่ ทั้งนี้โดยดำเนินคล้าย ๆ กับในหลายประเทศที่เขาปฏิบัติเช่นนี้เช่น ฝรั่งเศสก็ดี ญี่ปุ่นก็ดี ก็ได้ยกสภาพของตำบลนั้นให้เป็นเทศบาล"
การปกครองแบบเทศบาลตาม พ.ร.บ.เทศบาลที่ปรีดีร่างขึ้นนั้น ได้ยกเทศบาลตำบลให้มีฐานะเป็นทบวงการเมือง ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคล เทศบาลตำบลจัดระเบียบการปกครองเป็น 2 ส่วนคือ
1. สภาเทศบาลตำบลเป็นองค์การนิติบัญญัติมีอำนาจหน้าที่ตราเทศบัญญัติ
2. คณะมนตรีตำบลเป็นองค์การบริหาร มีอำนาจหน้าที่บริหารการให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งสภาตำบลรับรองแล้ว




ด้านการศึกษา
ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปรีดีได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (มธก.) ขึ้นเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 และได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ประศาสน์การ (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2490) คนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย เพื่อสนองเจตนารมณ์ข้อสุดท้ายของหลัก 6 ประการที่ว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร" ด้วยเห็นว่าในขณะนั้น สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่มิได้เปิดกว้างเพื่อชนส่วนใหญ่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยใหม่ตามแนวความคิดของท่าน จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างเพื่อราษฎร เป็นตลาดวิชา ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกัน ปรีดีกล่าวไว้ในวันสถาปนามหาวิทยาลัยว่า
"มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น"
มหาวิทยาลัยแห่งนี้มิได้ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด หากอาศัยเงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาทั่วราชอาณาจักรและดอกผล ที่ได้มาจากธนาคารแห่งเอเซียเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม (Bank of Asia) ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้นถึง 80% นอกจากนี้ปรีดียังได้ยกกิจการโรงพิมพ์นิติสาส์นของท่านให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อพิมพ์เอกสารตำราคำสอนแก่นักศึกษา นับว่าเป็นสถาบันที่มีเสรีภาพทางวิชาการและเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐ อย่างแท้จริง
ผลิตผลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสงครามและต่อสู้เพื่อสันติภาพ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ขององค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือต่อมาเรียกว่าขบวนการเสรีไทย
ภายหลังจากที่ปรีดีถูกขับให้พ้นจากวงการเมืองไทยแล้ว รัฐบาลอำนาจนิยมเข้าครอบครองและได้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยตัดคำว่า "วิชา" และ "การเมือง" ออก เหลือเพียง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไม่ให้นักศึกษายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งยังทำการขายหุ้นทั้งหมดของมหาวิทยาลัย จนไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล




ด้านการต่างประเทศ
ในเวลานั้นสยามยังอยู่ภายใต้บังคับของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันไม่เป็นธรรม ที่รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ทำไว้กับประเทศต่าง ๆ ถึง 13 ประเทศ ในนามของสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือ
เมื่อภารกิจด้านการปกครองในกระทรวงมหาดไทยเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ปรีดีได้ก้าวเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2481) เป็นผู้นำในการทวงอำนาจอธิปไตยของประเทศกลับคืนมา โดยยึดหลักเอกราชทั้งในทางการเมือง การศาล และเศรษฐกิจ ในระยะเวลา 3 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ท่านได้ใช้ความพยายามทางการทูตเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่สยามได้ทำ ไว้กับประเทศมหาอำนาจ 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี เบลเยียม และนอร์เวย์ ตามลำดับ ซึ่งประเด็นหลักในการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคมีอยู่ 2 ประเด็น คือ
1. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (extraterritorialiry) คือคนในบังคับของต่างประเทศไม่ต้องขึ้นต่อศาลสยาม ทำให้สยามสูญเสียเอกราชในทางศาล
2. ภาษีร้อยชักสาม คือรัฐบาลสยามสามารถเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าได้เพียงไม่เกินร้อยละ 3 เท่านั้น ทำให้สยามขาดรายได้เข้าประเทศเท่าที่ควรจะได้ นับเป็นการสูญเสียเอกราชในทางเศรษฐกิจ
ปรีดีได้ใช้ยุทธวิธีบอกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศคู่สัญญาเหล่านั้น และได้ยื่นร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่โดยอาศัยหลัก "ดุลยภาพแห่งอำนาจ" จนสามารถยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวได้สำเร็จ ทำให้สยามได้เอกราชทางศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา และมีสิทธิเสมอภาคกับนานาประเทศทุกประการ
หนังสือพิมพ์ สเตรตไทม์ ของสิงคโปร์กล่าวยกย่อง ปรีดีไว้ในบทบรรณาธิการว่า "ดร. ปรีดี พนมยงค์ เสมือนหนึ่งเป็น แอนโทนี อีเดน" (รัฐมนตรีต่างประเทศคนสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ)


ด้านการคลัง
เมื่อปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484) ได้ตั้งปณิธานที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติ สร้างความเป็นธรรมและความสุขสมบูรณ์แก่ราษฎร โดยแถลงต่อรัฐสภาว่าจะปรับปรุงระบบการเก็บภาษีให้เป็นธรรมแก่สังคม และได้บรรลุภารกิจในด้านการจัดเก็บภาษีอากรที่สำคัญ ดังนี้
1. ช่วยเหลือราษฎรที่ต้องแบกรับภาษีที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการยกเลิกเงินภาษีรัชชูปการ และอากรค่านา (เงินส่วย) ซึ่งชาวนาต้องเสียแก่เจ้าศักดินา เป็นต้น
2. จัดระบบเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตยโดนสถาปนา "ประมวลรัษฎากร" (Revenue Code) เป็นแบบฉบับครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรทางตรง
3. ออก พรบ.ภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นภาษีก้าวหน้า กล่าวคือผู้ใดมีรายได้มากก็เสียภาษีมากหากมีรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อย และผู้ใดบริโภคเครื่องบริโภคที่ไม่จำเป็นแก่การดำรงชีพก็ต้องเสียภาษีอากร มากตามลำดับ
ในด้านการสร้างเสถียรภาพทางการเงินและการคลังของประเทศ ปรีดีคาดการณ์ว่าอาจเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในไม่ช้า เงินปอนด์สเตอร์ลิงซึ่งสยามประเทศใช้เป็นทุนสำรองเงินตราอาจจะลดค่าลงได้ ท่านพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าภายใต้สถานการณ์ของโลกที่มีความไม่แน่นอน นั้น การเก็บรักษาทุนสำรองของชาติเอาไว้เป็นทองคำแท่งน่า จะเป็นนโยบายที่เหมาะสม และเห็นว่าอังกฤษซึ่งอยู่ในสถานะสงครามกับเยอรมันนีในยุโรปแล้วตั้งแต่ปี 2482 มีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญหน้ากับญี่ปุ่นในเอเชียแปซิฟิกด้วยในอนาคตอันใกล้ อันจะมีผลกระทบต่อสถานภาพของเงินปอนด์สเตอร์ลิงอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงได้จัดการเอาเงินปอนด์ที่เป็นเงินทุนสำรองเงินตราจำนวนหนึ่งซื้อทองคำ แท่งหนัก 273,815 ออนซ์ ในราคาออนซ์ละ 35 เหรียญสหรัฐฯ นำมาเก็บไว้ในห้องนิรภัยกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ยังได้โอนเงินปอนด์เพื่อแลกซื้อเงินดอลลาร์และทองคำแท่งเก็บไว้ที่ สหรัฐอเมริกาอีกส่วนหนึ่ง ทำให้เสถียรภาพของค่าเงินบาทในเวลานั้นมั่นคงที่สุดแม้ว่าเป็นระยะใกล้จะ เกิดสงครามเต็มทีแล้ว ทองคำแท่งจำนวนดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้เป็นทุนสำรองเงินบาทอยู่จนทุก วันนี้
เมื่อได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมขึ้นในระดับ หนึ่งแล้ว อีกทั้งระบบการเงินของประเทศก็มีความมั่นคงด้วยทุนสำรองเงินตราอันประกอบ ด้วยทองคำและเงินตราต่างประเทศในสกุลที่ทั่วโลกยอมรับ ปรีดีในฐานะผู้รับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินการคลังของประเทศ ก็ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งชาติ ซึ่งได้เคยปรารภไว้แล้วใน “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” มาพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยขึ้นก่อน และเร่งฝึกพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ให้พร้อมในการบริหารธนาคารชาติ ต่อมาจึงได้จัดตั้ง "ธนาคารชาติไทย" ขึ้น ในปี พ.ศ. 2483 หรือต่อมารู้จักกันในนาม "ธนาคารแห่งประเทศไทย" เพื่อทำหน้าที่เป็นธนาคารชาติของรัฐโดยสมบูรณ์
ในพิธีเปิดธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พลตรีเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ กล่าวในพิธีว่า
"การตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย เป็นความดำริที่รัฐบาลของ ฯพณฯ ได้มีมาแล้วแต่ช้านาน เมื่อ พ.ศ. 2483 ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้วางรากฐานลงไว้ โดยจัดตั้งสำนักธนาคารชาติไทยเป็นทบวงการเมือง สังกัดขึ้นอยู่ในกระทรวงการคลัง เพื่อประกอบธุรกิจอันอยู่ในหน้าที่ของธนาคารกลางไปก่อนบางประเภท และเตรียมการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นต่อไป การงานของสำนักงานธนาคารชาติไทยได้เจริญมาเป็นลำดับ ด้วยอาศัยปรีชาสามารถของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้นั้นเป็นสำคัญ"



บทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น นายปรีดี พนมยงค์ เล็งเห็นว่าลัทธิเผด็จการทหารกำลังจะจุดชนวนให้เกิดสงครามโลก จึงอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" (The King of The White Elephant) เพื่อสื่อทัศนะสันติภาพและคัดค้านการทำสงครามผ่านไปยังนานาประเทศ โดยแสดงจุดยืนอย่างแจ่มชัดด้วยพุทธภาษิตที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่ว่า "นตถิ สนติ ปรสุข" ไม่มีความสุขใดจะยิ่งกว่าสันติภาพ ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังสื่อให้เห็นว่าชาวสยามพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อต่อด้าน สงครามรุกรานอย่างมีศักดิ์ศรี
ปลายปี พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นเปิดแนวรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาเพื่อครองความเป็นมหาอำนาจในเอเชีย หลังจากที่บุกจู่โจมฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของ สหรัฐฯและดินแดนในครอบครองของอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม ญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และส่งกองกำลังภาคพื้นดินบุกเข้าประเทศไทยทางกัมพูชา รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเพื่อให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านแผ่น ดินไทย และในที่สุดก็ร่วมวงไพบูลย์กับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 อันเป็นการละเมิดต่อประกาศพระบรมราชโองการปฏิบัติความเป็นกลาง พ.ศ. 2482
ฝ่ายอังกฤษจึงประกาศสงครามกับไทยเพื่อเป็นการตอบโต้ อย่างไรก็ตามปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน รัชการที่ 8 ไม่เห็นด้วยกับการให้ญี่ปุ่นละเมิดอธิปไตยและแสดงจุดยืนให้ปรากฏโดยเป็นผู้ นำในการจัดตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือต่อมาเรียกว่า "ขบวนการเสรีไทย" ประกอบด้วยคนไทยทุกชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ท่านไม่ยอมลงนามในประกาศสงครามนั้นด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า หากลงนามไปแล้วก็ยากที่จะให้ประเทศสัมพันธมิตรเชื่อถือการปฏิบัติการของขบวน การเสรีไทย
กระแสความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของรัฐบาลจอมพล ป. ได้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่ชนทุกเหล่า แต่รัฐบาลถือว่าตนเองมีความชอบธรรมในการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วย โดยมีบทลงโทษตั้งแต่การจำคุกไปจนถึงการประหารชีวิต อีกทั้งกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ามาประจำการในประเทศ ก็ใช้ท่าทีที่แข็งกร้าวต่อผู้ที่ต้องสงสัยว่าดำเนินกิจกรรมต่อต้านกองทัพ ญี่ปุ่น ดังนั้นปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลและญี่ปุ่นผู้รุกราน จึงต้องเป็นงาน "ใต้ดิน" ที่ปิดลับ
ปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ และหัวหน้าเสรีไทยในรหัสนามว่า "รูธ" (Ruth) ต้องทำงานเสี่ยงตายในสองบทบาทตลอดเวลา 3 ปีกว่าของสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยถือความลับสุดยอดเป็นหัวใจของการปฏิบัติงาน แม้กระทั่งพลพรรคเสรีไทยเองต่างก็ไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่เป็นพวกเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ภารกิจของเสรีไทยบรรลุเป้าหมายให้ได้ คือ
1. ต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน
2. ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย
3. ให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น
ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ เชษฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ซึ่งเป็นเสรีไทยสายอังกฤษเคยกล่าวว่า " ข้าพเจ้ารู้สึกว่า หลวงประดิษฐ์ฯ (นายปรีดีฯ) ทำงานในการต่อต้านครั้งนี้ด้วยความพยายามเต็มสติกำลังความสามารถ อดทน มิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย มิได้เห็นแก่ตัวและภยันตรายที่จะมาถึงตน จนพวกเราทั้งหลายที่เข้ามาจากต่างประเทศต้องพากันขอร้องหลายครั้งหลายคราว ให้เตรียมตัวที่จะคิดป้องกันตนเองเสียบ้าง มิฉะนั้นการงานของประเทศจะเสียหมด ถ้าหลวงประดิษฐ์เป็นอะไรไป..."
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปรีดีแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่า เสรีไทยจำนวน 8 หมื่นคนทั่วประเทศพร้อมที่จะลุกฮือขึ้นเพื่อทำสงครามกับทหารญี่ปุ่นอย่าง เปิดเผย แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขอร้องให้ชะลอแผนนี้ไว้ก่อน ด้วยเหตุผลทางแผนยุทธศาสตร์ของทหารฝ่ายสัมพันธมิตร ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นก็ยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาไปทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนา งาซากิ
เมื่อญี่ปุ่นได้ยอมจำนน ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้แจ้งให้ผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยว่า สัมพันธมิตรไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นผู้แพ้สงคราม ประเทศไทยไม่ต้องถูกยึดครอง รัฐบาลไทยไม่ต้องยอมจำนน กองทัพไทยไม่ต้องวางอาวุธ และขอให้ท่านรีบออกแถลงการณ์ ปฏิเสธการประกาศสงครามระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร เพื่อลบล้างข้อผูกพันทั้งหลายทั้งปวงที่รัฐบาลไทยในสมัยหนึ่งได้ทำไว้กับ ญี่ปุ่น
ดังนั้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงได้ทำการ "ประกาศสันติภาพ" ดังความบางตอนว่า
"ประเทศไทยได้เคยถือนโยบายอันแน่วแน่ที่จะรักษาความเป็นกลางอย่าง เคร่งครัด และจะต่อสู้การรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง ดังปรากฏเห็นได้ชัดจากการที่ได้มีกฎหมายกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2484 อยู่แล้วนั้น ความจำนงอันแน่วแน่ดังกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นประจักษ์แล้ว เมื่อญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าในดินแดนประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ได้มีการต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง ทหาร ตำรวจ ประชาชน พลเมืองได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก"
"เหตุการณ์อันปรากฏเป็นสักขีพยานนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าการประกาศสงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทำทั้งหลายซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชาวไทยและฝ่าฝืนขืนขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง"
"จึงขอประกาศโดยเปิดเผยแทนประชาชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เป็น "โมฆะ" ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ตัดสินที่จะให้กลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรีอันดี อันเคยมีมากับสหประชาชาติเมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่ทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลก นี้"
เมื่อสิ้นสุดภารกิจลงแล้ว ท่านได้ประกาศยกเลิกขบวนการเสรีไทย เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยได้กล่าวว่า “สิ่งที่เหลืออยู่ในความทรงจำของเราทั้งหลาย ก็คือมิตรภาพอันดีในทางส่วนตัวที่เราได้ร่วมรับใช้ชาติด้วยกัน” และ “ผู้ ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าคราวนี้ ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติเป็นการกระทำของคนไทยทั้งปวงซึ่งแม้ผู้ไม่ได้เข้าร่วมในองค์การ นี้โดยตรง ก็ยังมีอีกประมาณ 17 ล้านคน ที่ได้กระทำโดยอิสระของตนในการต่อต้านด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถทำ ได้”
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2489) ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถเจรจาต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับอังกฤษ เรื่องสัญญาสมบูรณ์แบบ และการเจรจาให้รัฐบาลสหรัฐฯ ยกเลิกคำสั่งเพิกถอนเงินซึ่งได้ถูกกักกันไว้ในสหรัฐฯ ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขสถานะผู้แพ้สงครามได้สำเร็จอย่างละมุนละม่อม สามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติอย่างเต็มภาคภูมิ
ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปีเป็น "วันสันติภาพไทย"



รัฐบุรุษอาวุโส
ด้วยคุณูปการที่เป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมืองในยามคับขันนี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองอันทรงเกียรติสูงสุด ดังที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาว่า
"โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่านายปรีดี พนมยงค์ ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง จนในที่สุดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์และปรากฏว่าตลอดเวลาที่นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ทั้งได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในความปรีชาสามารถ บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นเอนกประการ
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะ รัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศมา ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรี"


ลี้ภัยและถึงแก่อสัญกรรม
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต รัฐบาลนายปรีดีที่เพิ่งชนะเลือกตั้งหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 ได้ขอความเห็นชอบต่อสภาฯ ว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว ปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ทั้งที่เพิ่งได้รับโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ก่อนการสวรรคต 1 วัน ด้วยเหตุผลว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีได้สวรรคตเสียแล้ว แต่หลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็สนับสนุนให้ปรีดี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 3
กรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 ถูกศัตรูทางการเมืองของปรีดี ซึ่งเชื่อกันว่าประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน นำมาใช้ทำลายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ ร้านกาแฟ และสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งส่งคนไปตะโกนในศาลาเฉลิมกรุงว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ซึ่งเป็นคำกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก กลายเป็นกระแสข่าวลือ และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของปรีดีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 โดยหลังจากนั้น หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายปรีดี ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหาร ซึ่งใกล้ชิด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกอบด้วย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารพยายามจะจับกุมตัวปรีดีกับครอบครัว แต่ปรีดีทราบข่าวก่อนเพียงไม่กี่นาที จึงหนีทัน และได้ลี้ภัยการเมือง ไปยังประเทศสิงคโปร์ สองปีถัดมา ก็ลี้ภัยต่อไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างนั้นรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ก็ถูกรัฐประหารซ้ำโดยคณะรัฐประหารกลุ่มเดิม และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งโดยต่อเนื่องเป็นเวลา 9 ปีเศษ
ปี พ.ศ. 2492 ปรีดีเคยกลับมาประเทศไทยเพื่อรัฐประหารรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเหตุการณ์ "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" หรือที่เรียกกันว่า "กบฎวังหลวง" (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงต้องลี้ภัยอีกครั้ง และอีก 11 ปีต่อมาได้ลี้ภัยต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส จนถึงแก่อสัญกรรมในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ณ บ้านพักชานกรุงปารีส ขณะที่ปรีดีเสียชีวิตเป็นช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์




การเชิดชูเกียรติ
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตั้งชื่อตามราชทินนามของศ.ปรีดี พนมยงค์ "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม"
ถนนปรีดี พนมยงค์ ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ศ.ปรีดี พนมยงค์ มีอยู่ 3 สาย ที่ถนนสุขุมวิท 71, ถนนโรจนะ ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา และภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันปรีดี พนมยงค์ ทุกวันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของ ศ.ปรีดี พนมยงค์
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ วิทยาลัยนานาชาติในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ปรีดี พนมยงค์



เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นสูงสุด ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น ๑
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
สายสะพายอาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1 รับพระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต เมื่อ พ.ศ. 2478 [1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เยอรมันอีเกิ้ล Grand Cross of the Order of the German Eagle (Grosskreuz des Deutschen Adlerordens)
เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ เลชียงดอนเนอร์ ชั้นสูงสุด Grand-Croix de Légion d'honneur จากรัฐบาลมหาชนรัฐฝรั่งเศส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เลโอปอลด์ ชั้นที่ 1 Le Grand Cordon de l'odre de Leopold จากสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยี่ยม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซันตีโมริซิโอ เอ ลัซซาโร ชั้นที่ 1 Gran Croce del Suo Ordine Dei SS. Maurizio e Lazzaro จากสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี จักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เซนท์ไมเกิล และเซนท์ยอร์ช ชั้นที่ 1 The Insignia of an Honorary Grand Cross of The Most Distinguished Order of St.Michael and St.George จากสมเด็จพระเจ้ากรุงอังกฤษ
เหรียญแห่งเสรีภาพ ชั้นสูงสุด Medal of Freedom (Gold Palm) รับพิธีประดับเหรียญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ณ กระทรวงกลาโหม กรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2489
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ วาซา ชั้นสูงสุดแห่งสวีเดน Order of Vasa (Commander Grand Cross)



งานเขียน
ภาษาไทย
ปรัชญาคืออะไร?. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์นีติเวช, 2513.
บันทึกข้อความสำคัญประกอบด้วยอุทาหรณ์ และคำแนะนำแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. พระนคร, โรงพิมพ์นิติสาส์น, 2471.
จดหมายของนายปรีดี พนมยงค์ ถึงพระพิศาลสุขุมวิทเรื่องหนังสือจดหมายเหตุ ของเสรีไทยเกี่ยวกับการในแคนดี. กรุงเทพฯ, อมรินทร์การพิมพ์, 2522.
ความเป็นมาของศัพท์ไทย "ปฏิวัติ, รัฐประหาร, วิวัฒน์, อภิวัฒน์". กรุงเทพฯ, สถาบันสยามเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม, 2519.
แถลงการณ์ของนายปรีดี พนมยงค์และคำเตือนสติผู้รักชาติ. กรุงเทพฯ, ประจักษ์การพิมพ์, 2516.
ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปี ที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน (Ma vie mouvementee' et mes 21 ans d'ex.) กรุงเทพฯ, เทียนวรรณ, 2529.
ความเป็นอนิจจังของสังคม. พระนคร, โรงพิมพ์นิติเวช, 2513.
ระบบสังคมนิยม และระบบคอมมิวนิสต์ จะเหมาะสมแก่เมืองไทยหรือไม่. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2518-
เค้าโครงการเศรษฐกิจ ของ หลวงประดิษฐมนูธรรม. พระนคร, โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2491.
คำอธิบายกฎหมายปกครอง. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2475.
ปรีดี พนมยงค์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ 2517. กรุงเทพฯ, จงเจริญการพิมพ์, 2517.
คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย หุ้นส่วนบริษัทและสมาคม โดย หลวงประดิษฐมนูธรรม. พระนคร, โรงพิมพ์อักษรนิติ, 2479.
ปัญหาสงครามในยุคปรมาณู (นิวเคลียร์). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นิติเวชช์, 2517.
ภาษาอังกฤษ
Political and military tasks of the Free-Thai movement to regain national sovereignty and independence. Bangkok Amarin Press, 1979.
The king of the white elephant. Bangkok, Thammasat University, 2484 (1941)
ภาษาฝรั่งเศส
Du sort des societes de personnes en cas de deces d'un associe (etude de droit francais et de droit compare). Paris, Librairie de Jurisprudence Ancienne et Monderne, 1927.
Ma vie mouvementee et mes 21 ans d'exil en Chine Populaire. Paris, Varap, 1972.


วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

รายชื่อระบบปฏิบัติการ
รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ
CP/M
MP/M
TRS-DOS
ProDOS
DOS
Microsoft Windows
Linux
Unix
Mac OS
FreeBSD
OS/2
RISC OS
BeOS
Amiga
Plan9
NetWare
MorphOS
Zaurus
VMS
EPOC
Solaris
IRIX
Darwin
HPUX
UNICOS
MINIX
AIX
Chrome OS
IOS
ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์
นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอ็กซ์ และโซลาริส และรวมถึงลีนุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส
ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ ปาล์มโอเอส หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีการหล่อเทียนพรรษา

การหล่อเทียนพรรษาเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีหล่อเทียน จัดเป็นพระราชกุศล และเป็นงานบุญทั่วไปของชาวบ้านอีกด้วย โดยกำหนดจัดงานราชพิธีหล่อเทียนขึ้นในเดือน ๘ ของทุกปี ก่อน เข้าพรรษาสมัยนั้นการหล่อเทียนใช้หล่อด้วยขี้ผึ้งทั้งสิ้น ในปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งเป็นจำนวนมากทั้งนี้เนื่องจากบรรดาวัดต่าง ๆ ที่เป็น วัดหลวงทุกวัด จะได้รับพระราชทานเทียนพรรษาวัดละ ๑ เล่ม หรือมากกว่านั้นทุก ๆ วัด จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น
กล่าวกันว่าประมาณปลายรัชการที่ ๓ ต้องหล่อเทียนจำนวนถึง ๒๐๐ เล่ม จึงจะมีจำนวนมากพอที่จะนำไปถวายวัดต่าง ๆ ได้ อย่างทั่วถึง ซึ่งการหล่อเทียนแต่ละเล่มสมัยนั้น ต้องใช้ขี้ผึ้งในการหล่อเทียนหนักถึง ๑๖ ชั่ง ปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึง เวลาที่หล่อเทียนทางสำนักพระราชวัง จำบอกบุญไปยังพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เจ้าภาษี นายอากร และ ขุนนางฝ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ให้นำขี้ผึ้งมาช่วยกันหล่อเทียน จึงสำเร็จลงได้
มูลเหตุที่ต้องมีการหล่อเทียนนั้นก็เนื่องมาจากในฤดูฝน หรือที่เรียกกันว่า "ฤดูการเข้าพรรษา" คือช่วงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลายต้องเข้าอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง อยู่จำพรรษาในพระอารามระหว่างนั้นมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ มีความจำเป็นต้องใช้เทียนไว้สำหรับ จุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อเทียน สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ได้จุดบูชาตลอด ๓ เดือนของกำหนดเวลาเข้าพรรษา จึงเรียกเทียนที่หล่อ ขึ้นนี้ว่า "เทียนพรรษา" หรือ "เทียนจำนำพรรษา"
การถวายเทียนพรรษาเป็นกุศลอย่างหนึ่งของการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา สว่างไสว พิธีหล่อเทียน เริ่มก่อนการเข้าพรรษาเล็กน้อย การตระเตรียมงานพิธีหล่อเทียนในชุมชนนั้น จะเริ่มขึ้นประมาณวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ก่อนเข้าพรรษา ประมาณ ๑ สัปดาห์

เมื่อหล่อเทียนในวันรุ่งขึ้นจะจัดขบวนแห่นำไปถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อเป็นพุทธบูชาและ ในวันนั้นมีการทำบุญร่วมกัน ตักบาตร ถวายพระภิกษุสงฆ์ แสดงความศรัทธาโดยพร้อมเพรียงกัน
งานทำบุญหล่อเทียน และถวายเทียนพรรษานับเป็นประเพณีที่ดีงามสมควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะได้ช่วยกันรักษา ประเพณีนี้ไว้ให้คงอยู่สืบไปชั่วกาลนาน

อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์
ว้นเข้าพรรษา
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
[แก้] มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าอนุญาตการจำพรรษาแก่พระสงฆ์

ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลำบาก และเป็นช่วงฤดูทำไร่นาของชาวบ้าน พระพุทธเจ้าจึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทางเพื่อประจำอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝน
ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำ
ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์ฉัพพัคคีย์พากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว[5]
[แก้] การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก
ตามพระวินัย พระสงฆ์รูปใดไม่เข้าจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงปรับอาบัติแก่พระสงฆ์รูปนั้นด้วยอาบัติทุกกฏ[6]
และพระสงฆ์ที่อธิษฐานรับคำเข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา" และต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำนั้น รวมทั้งพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่ได้รับอานิสงส์พรรษา ไม่ได้อานิสงส์กฐินตามพระวินัย และทั้งยังห้ามไม่ให้นับพรรษาที่ขาดนั้นอีกด้วย[7]
[แก้] ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์
การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท [8][9] คือ
ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน
[แก้] ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์
แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[10] แต่ว่าในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น
การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และมารดาบิดา
การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5
การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น
หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.
ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้)
ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถกลับมาจำพรรษาต่อเนื่องไปได้ และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้องกลับมาภายในเจ็ดวัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฏดังกล่าวแล้ว
[แก้] การถือปฏิบัติการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
การเข้าพรรษานั้นปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท ซึ่งพระสงฆ์ในนิกายเถรวาททุกประเทศจะถือการปฏิบัติการเข้าจำพรรษาเหมือนกัน (แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการให้ความสำคัญและรายละเอียดประเพณีปฏิบัติของแต่ละท้องถิ่น)
[แก้] การเตรียมตัวเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ในปัจจุบัน

เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะรวมตัวกันอธิษฐานจำพรรษาภายในวิหารหรืออุโบสถของวัด
การเข้าจำพรรษาคือการตั้งใจเพื่ออยู่จำ ณ อาวาสใดอาวาสหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจำตลอดพรรษา 3 เดือน ดังนั้นก่อนเข้าจำพรรษาพระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัวโดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเข้าพรรษา
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะลงประกอบพิธีอธิษฐานจำพรรษาหลังสวดมนต์ทำวัตรเย็นเป็นพิธีเฉพาะของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะลงประกอบพิธี ณ อุโบสถ หรือสถานที่ใดตามแต่จะสมควรภายในอาวาสที่จะจำพรรษา โดยเมื่อทำวัตรเย็นประจำวันเสร็จแล้วเจ้าอาวาสจะประกาศเรื่อง วัสสูปนายิกา คือการกำหนดบอกให้ให้พระสงฆ์ทั้งปวงรู้ถึงข้อกำหนดในการเข้าพรรษา โดยมีสาระสำคัญดังนี้
แจ้งให้ทราบเรื่องการเข้าจำพรรษาแก่พระสงฆ์ในอาราม
แสดงความเป็นมาและเนื้อหาของวัสสูปนายิกาตามพระวินัยปิฏก
กำหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษาให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่กำหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา)
หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ทำการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้กำหนดให้พระสงฆ์รูปใดจำพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด
เมื่อแจ้งเรื่องดังกล่าวเสร็จแล้ว อาจจะมีการทำสามีจิกรรม คือกล่าวขอขมาโทษซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างพระเถระและพระผู้น้อย และเป็นการสร้างสามัคคีกันในหมู่คณะด้วย
จากนั้นจึงทำการอธิษฐานพรรษา เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด โดยการเปล่งวาจาว่าจะอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส โดยพระสงฆ์สามเณรทั้งอารามกราบพระประธาน 3 ครั้งแล้ว เจ้าอาวาสจะนำตั้งนโม 3 จบ และนำเปล่งคำอธิษฐานพรรษาพร้อมกันเป็นภาษาบาลีว่า

อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ(ถ้ากล่าวหลายคนใช้: อุเปม)

หลังจากนี้ ในแต่ละวัดจะมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันไป บางวัดอาจจะมีการเจริญพระพุทธมนต์ต่อ และเมื่อเสร็จแล้วอาจจะมีการสักการะสถูปเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายในวัดอีกตามแต่จะเห็นสมควร
เมื่อพระสงฆ์สามเณรกลับเสนาสนะของตนแล้ว อาจจะอธิษฐานพรรษาซ้ำอีกเฉพาะเสนาสนะของตนก็ได้ โดยกล่าววาจาอธิษฐานเป็นภาษาบาลีว่า

อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ(ถ้ากล่าวหลายคนใช้: อุเปม)


การสอบธรรมสนามหลวงจะจัดขึ้นในช่วงหลังออกพรรษา เพื่อวัดความรู้นักธรรมที่พระสงฆ์เล่าเรียนมาตลอดพรรษากาล
เป็นอันเสร็จพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาสำหรับพระสงฆ์ และพระสงฆ์จะต้องรักษาอรุณไม่ให้ขาดตลอด 3 เดือนนับจากนี้ โดยจะต้องรักษาผ้าไตรจีวรตลอดพรรษากาล คือ ต้องอยู่กับผ้าครองจนกว่าจะรุ่งอรุณด้วย
[แก้] การศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษาในปัจจุบัน
ในอดีต การเข้าพรรษามีประโยชน์แก่พระสงฆ์ในด้านการศึกษาพระธรรมวินัย โดยการที่พระสงฆ์จากที่ต่าง ๆ มาอยู่จำพรรษารวมกันในที่ใดที่หนึ่ง พระสงฆ์เหล่านั้นก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายองค์ความรู้ตามพระธรรมวินัยให้แก่กัน
มาในปัจจุบัน การศึกษาพระธรรมวินัยในช่วงเข้าพรรษาในประเทศไทยก็ยังจัดเป็นกิจสำคัญของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ที่อุปสมบททุกรูป แม้จะอุปสมบทเพียงเพื่อชั่วเข้าพรรษาสามเดือน ก็จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ปัจจุบันพระธรรมวินัยถูกจัดเป็นหลักสูตรของคณะสงฆ์ ในหลักสูตร พระธรรม จะเรียกว่า ธรรมวิภาค พระวินัย เรียกว่า วินัยมุข รวมเรียกว่า "นักธรรม" ชั้นต่าง ๆ โดยจะมีการสอบไล่ความรู้พระปริยัติธรรมในช่วงออกพรรษา เรียกว่า การสอบธรรมสนามหลวง ในช่วงวันขึ้น 9 - 12 ค่ำ เดือน 11 (จัดสอบนักธรรมชั้นตรีสำหรับพระภิกษุสามเณร) และช่วงวันแรม 2 - 5 ค่ำ เดือน 12 (จัดสอบนักธรรมชั้นโทและเอก สำหรับพระภิกษุสามเณร) [11]
ปัจจุบันการศึกษาเฉพาะในชั้นนักธรรมตรีสำหรับพระนวกะ หรือพระบวชใหม่ จะจัดสอบในช่วงปลายฤดูเข้าพรรษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่จะลาสิกขาบทหลังออกพรรษา จะได้ตั้งใจเรียนพระธรมวินัยเพื่อสอบไล่ให้ได้นักธรรมในชั้นนี้ด้วย
[แก้] การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย

สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้

... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทังสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...

— คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒[12][13]
นอกจากนี้ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ยังได้กล่าวถึงการเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยสุโขทัยไว้อีกว่า "เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบก และทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือ ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ ประดับ ธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถ หอพระธรรมและพระวิหาร จุดตามให้สว่างไสวในที่นั้น ๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอาราม" ซึ่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นั้นสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมี ตามความที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับเค้าโครงของหนังสือนี้ว่าแม้มีเค้าโครงมาจากสมัยสุโขทัย แต่รายละเอียดมีการแต่งเสริมกันขึ้นมาในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น[14]
อย่างไรก็ตาม การเทศกาลเข้าพรรษามีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในชนบทส่วนใหญ่นิยมเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญบุญกุศลฟังพระธรรมเทศนาเป็นจำนวนมากในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน
[แก้] ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น
[แก้] ประเพณีถวายเทียนพรรษา

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:คำถวายเทียนพรรษา

เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น
มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎก[15]และในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วย[16] ด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน[17] มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน
การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิศดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก จนในช่วงหลังปี พ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน[18]
ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น
[แก้] ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา)

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในพระไตรปิฎกดังนี้
ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงออกมาสรงน้ำฝนโดยร่างเปลือยกายอยู่
พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันนั้นแล้ว จึงได้โอกาสอันควรทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา
พระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการคือ[19][20]

ผ้าอาบน้ำฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ (ปกติตามพระวินัย พระสงฆ์จะมีไตรจีวรได้เพียงรูปละ 1 สำรับเท่านั้น)
ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง
ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน
ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ
ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร
ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง
ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์
ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน
โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผลการถวายผ้าอาบน้ำฝนว่า เพื่อให้ใช้ปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์
ผ้าอาบน้ำฝน จึงถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 คืบพระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้
นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาใช้ได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ 3 เขตกาล[21] คือ
เขตกาลที่จะแสวงหา ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลา 1 เดือน
เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลาประมาณ 15 วัน
เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 4 เดือน
ด้วยกรอบพระพุทธานุญาตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบำเพ็ญกุศลด้วยการจัดหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีสำคัญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษามาจนปัจจุบัน
[แก้] ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา (หลังออกพรรษา)

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:คำถวายผ้าจำนำพรรษา
ผ้าจำนำพรรษา หรือ ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก[22] เป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ที่ผ่านวันปวารณาไปแล้ว หรือที่ผ่านวันปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจำนำพรรษานี้พระสงฆ์สามารถรับได้ภายในกำหนด 5 เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
แต่สำหรับพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน และผ่านวันปวารณาไปแล้ว ซึ่งไม่ได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็สามารถรับและใช้ผ้าจำนำพรรษาได้เช่นกัน แต่สามารถรับได้ในช่วงกำหนดเพียง 1 เดือน ในเขตจีวรกาลสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐินเท่านั้น
การถวายผ้าจำนำพรรษาในช่วงดังกล่าว เพื่ออนุเคราะห์แก่พระสงฆ์ที่ต้องการจีวรมาเปลี่ยนของเก่าที่ชำรุด พุทธศาสนิกชนจึงนิยมถวายผ้าจำนำพรรษามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในประเทศไทยก็ปรากฏว่ามีพระราชประเพณีการถวายผ้าจำนำพรรษาแก่พระสงฆ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ตามความที่ปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์พระราชพิธี 12 เดือน ซึ่งปัจจุบันแม้ทางราชสำนักได้งดประเพณีนี้ไปแล้ว แต่ประเพณีนี้ก็ยังคงมีอยู่สำหรับชาวบ้านทั่วไป โดยนิยมถวายเป็นผ้าไตรแก่พระสงฆ์หลังพิธีงานกฐิน แต่เป็นที่สังเกตว่าปัจจุบันจะเข้าใจผิดว่าผ้าจำนำพรรษาคือผ้าอาบน้ำฝน ซึ่งความจริงแล้วมีความเป็นมาและพระวินัยที่แตกต่างกันสิ้นเชิง[23]
[แก้] ประเพณีถวายผ้าอัจเจกจีวร (ระหว่างเข้าพรรษา)

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:คำถวายผ้าอัจเจกจีวร
ผ้าอัจเจกจีวร แปลว่า จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน[24] คือผ้าจำนำพรรษาที่ถวายล่วงหน้าในช่วงเข้าพรรษา ก่อนกำหนดจีวรกาลปกติ ด้วยเหตุรีบร้อนของผู้ถวาย เช่น ผู้ถวายจะไปรบทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ชีวิต หรือเป็นบุคคลที่พึ่งเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ควรรับไว้ฉลองศรัทธา
อัจเจกจีวรเช่นนี้ พระวินัยอนุญาตให้พระสงฆ์รับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน 10 วัน (คือตั้งแต่ขึ้น 6 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 11) และต้องนำมาใช้ภายในช่วงจีวรกาล[25]
ผ้าอัจเจกจีวรนี้ เป็นผ้าที่มีความมุ่งหมายเดียวกับผ้าจำนำพรรษา เพียงแต่ถวายก่อนฤดูจีวรกาลด้วยวัตถุประสงค์รีบด่วนด้วยความไม่แน่ใจในชีวิต ซึ่งประเพณีนี้คงมีสืบมาแต่สมัยพุทธกาล ปัจจุบันไม่ปรากฏเป็นพิธีใหญ่ เพราะเป็นการถวายด้วยสาเหตุส่วนตัวเฉพาะรายไป ส่วนมากจะมีเจ้าภาพผู้ถวายเพียงคนเดียวและเป็นคนป่วยหนักที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
[แก้] วันเข้าพรรษาในปฏิทินสุริยคติไทย
อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป
ปี
วันที่
วันที่
วันที่
ปีชวด
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ปีขาล
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ปีเถาะ
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
2 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
30 มิถุนายน พ.ศ. 2569
ปีมะแม
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2570
ปีวอก
1 สิงหาคม พ.ศ. 2547
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2571
ปีระกา
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
26 มิถุนายน พ.ศ. 2572
ปีจอ
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2573
ปีกุน
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2574
[แก้] การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงพรรษากาลในประเทศไทย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยการจัดเตรียมสิ่งของเพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ที่จะจำพรรษา การตั้งใจรักษาศีล 5 หรือศีล 8 และตั้งใจบำเพ็ญความดี เข้าวัดฟังธรรมตลอดพรรษากาล ซึ่งไม่เฉพาะแต่ชาวบ้านทั่วไปเท่านั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ให้ความสำคัญกับการเข้าพรรษาของพระสงฆ์เป็นอย่างมากเช่นกัน
[แก้] พระราชพิธี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจิมเทียนพรรษาที่จะทรงอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัยและพุทธเจดีย์สถาน ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา[26] ซึ่งเดิมก่อน พ.ศ. 2501 เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา[27] แต่หลังจากที่ทางคณะสงฆ์มีการกำหนดให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง (ก่อนหน้าวันเข้าพรรษา 1 วัน) ในปี พ.ศ. 2501 แล้ว[28] สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดเพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันอาสฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยอีกวันหนึ่ง[29] รวมเป็นสองวัน
การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล[30] และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน[31] โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และภายในพระบรมมหาราชวัง การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธานามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังจำนวน 150 รูป ในวันเข้าพรรษาทุกปี[32] เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
[แก้] พิธีสามัญ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน โดยมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ โดยนิยมไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพอสรุปกิจที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในพรรษากาลได้ดังนี้
ร่วมกิจกรรมทำเทียนพรรษาหรือหลอดไฟถวายแก่พระสงฆ์
ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ตลอดพรรษากาล
อธิษฐานตั้งใจทำความดี หรืองดการทำชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น